VERTICAL PUMP
งานปั๊มของเหลวที่ต้องการความแน่นอนในการป้องกันไม่เกิดการเดินปั๊มตัวเปล่าขึ้น หรือเรียกว่าการ Run-dry นั้น หากมีพื้นที่มากพอ จะขอแนะนำให้ใช้ปั๊ม Chemical Vertical pump โดยลักษณะทั่วไปของปั๊มประเภทนี้จะเป็นปั๊มทรงตั้งตรง แนวของใบพัดกับแกนมอเตอร์จะมีลักษณะตั้งฉากกับพื้น เป็น 90 องศา ดังนั้นการติดตั้งมอเตอร์จะเป็นลักษณะคว่ำหัวมอเตอร์ลงให้แกนเพลาอยู่ในตำแหน่งคว่ำลงกับพื้น เพื่อเชื่อมต่อกับแกนใบพัดโดยจะมีชุดแมคคานิคอลซีลเป็น ตัวประคองให้ได้ศูนย์พร้อมกับกันการรั่วซึมไปในตัวได้
อุปกรณ์หลักของ Vertical pump
Impeller
หรือใบพัด เป็นส่วนที่ใช้ในการขับเคลื่อนและพัดพาของเหลวและตะกอนบางส่วนได้ ส่วนของ Impeller จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับอัตราการไหลและความสูงที่จะส่งไป
Shaft
หรือแกนเพลาจะเป็นส่วนประคองและเป็นส่วนต่อระหว่างใบพัดกับแกนมอเตอร์ส่วนใหญ่จะทำจาก สแตนเลส ส่วนเพลาจะต้องมีความแข็งแรงและจะต้องให้ได้ศูนย์ที่เที่ยงตรง
Machanical Seal
เป็นส่วนที่จะป้องกันการรั่วซึมของของเหลวไม่ให้มีการซึมออกมาได้ซึ่งจะต้องเป็นวัสดุที่ทนต่อสารเคมีหรือของเหลวที่กัดกร่อนได้ส่วนใหญ่เป็นประเภท EPDM, VITON, PTFE
Body
ปั๊มเป็นส่วนที่จะต้องถูกจุ่มลงไปในบ่อหรือถังของเหลว ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุประเภท Polypropylene หรือ PP,PVDF หรือ Teflon ซึ่งส่วนนี้นอกจากเป็นส่วนที่ต้องใช้ในการต่อท่อทางเข้าและทางออกแล้วยังจะเป็นส่วนที่ป้องกันและควบคุมทิศทางการไหลของของเหลวภายในอีกด้วย
Motor
เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนปั๊มส่วนของมอเตอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ยังตำแหน่งบนสุดของปั๊มเป็นลักษณะแนวดิ่งลงทำมุม 90 องศา ส่วนของมอเตอร์นั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของของเหลวและ ความสูงที่จะส่งออกไป
Install Chemical Drum pump
สำหรับการติดตั้ง ผู้ใช้งานจะต้องเตรียมพื้นที่ติดตั้งให้เพียงพอ อาจจะต้องทำแท่นเพื่อรองรับน้ำหนักของมอเตอร์ เนื่องจากเป็นปั๊มที่ต้องจุ่มบริเวณส่วนของปั๊มลงไปในถังหรือบ่อ จึงต้องป้องกันไม่ให้มอเตอร์ที่มีน้ำหนักตกลงไปรวมถึงวัสดุที่ใช้อาจจะต้องเป็น สแตนเลสหรือเป็น PP ที่ต้องสามารถกันการกัดกร่อนของเคมีได้
Application งานที่เหมาะสมกับการใช้ Vertical pump
- ระบบดักฝุ่น ควัน Scubber
- ระบบการเคลื่อนย้ายของเหลวที่อันตราย
- ระบบงานชุบต่าง ๆ
- ระบบงานถ่ายของเสียไปทิ้ง
ข้อควรระวังในการใช้ปั๊ม Vertical
- ห้ามเดินปั๊มในขณะที่ไม่มีของเหลวเข้าปั๊ม (RUN DRY) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายของแมคคานิคคอลซีลได้
- ของเหลวที่ใช้สูบจะต้องไม่มีตะกอนที่มีลักษณะเป็นของแข็งและมีขนาดใหญ่ เนื่องจากปั๊มประเภทนี้วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก หากมีตะกอนที่มีความแข็งและคมอาจจะทำให้เกิดความหายต่อใบพัดและ Body ปั๊มได้
- การติดตั้งปั๊มภายนอก หากเป็นไปได้ควรจะมีหลังคาคลุมกันน้ำกันฝน ถึงแม้ว่ามอเตอร์จะมีระดับ IP 55 ที่จะสามารถกั้นระดับน้ำและ ฝนได้นั้น แต่เพื่อความแน่นอนว่าจะไม่มีน้ำหรือความชื้นเข้าไปในระบบไฟฟ้า อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวปั๊มได้ ควรจะต้องป้องกันไว้จะดีกว่าและยืดอายุการใช้ได้
- การติดตั้งปั๊มบริเวณที่มีไอระเหยของสารเคมีสูงควรทำเป็นฝาครอบเพื่อป้องกันไว้หนึ่งชั้น หากไม่สามารถทำได้ อาจจะต้องติดตั้งให้ห่างจะพื้นที่ที่มีไอสารเคมีให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ อาจจะช่วยยืดอายุได้ระดับหนึ่ง
- การติดตั้งปั๊มอาจต้องคำนึงถึงความลึกของบ่อเป็นสำคัญด้วยเพราะหากติดตั้งในบ่อที่ลึกเกินกว่าปั๊มมากเกินไปอาจจะทำให้การสูบจากบ่อนั้นไม่หมด ส่วนมากจะต้องเลือกปั๊มให้ปลายด้านดูดมีความสูงจากก้นบ่อไม่เกิน 10 เซนติเมตร
- การใช้ฟุตวาล์วอาจจะทำได้ในกรณีที่จะต้องติดตั้งปั๊มตำแหน่งที่สูงเกินจากก้นบ่อมากเกินไป อาจจะต้องมีการต่อท่อเพิ่มและติดตั้งฟุตวาล์วยังปลายท่อได้ แต่ต้องระวังให้ฟุตวาล์วใช้งานได้มีประสิทธิภาพตลอดเวลาเพราะหากฟุตวาล์วเสียหาย ไม่สามารถเก็บกักของเหลวได้อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ปั๊มเกิความเสียหายได้
Vertical pump ส่วนใหญ่จะมีวัสดุให้เลือกสองประเภทได้แก่
Polypropylene
หรือ PP สามารถใช้กับของเหลวประเภทน้ำเคมีที่มีความกัดกร่อนต่ำเช่น คลอรีน กรดเกลือ โซดาไฟ สารส้ม หรือ ซัลเฟอร์ต่าง ๆ (คือสารที่ปะปนกับน้ำที่มีการดักฝุ่นควันจากอุตสาหกรรม)
PVDF
หรือ Teflon สามารถใช้กับของเหลวประเภทที่มีความกัดกร่อนหรือมีอุณหภูมิสูงได้ เช่น กรดกำมะถัน กรดกัดแก้ว ของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 170 องศา